ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันก่อนว่าเส้นพลาสติกที่เรานำใช้นั้นคืออะไรกันก่อน โดยพื้นฐาน พลาสติกที่เราใช้กันนั้น มีอีกชื่อที่เรียกว่า พอลิเมอร์ หรือ โพลิเมอร์ (Polymer) มีหลากหลายชนิด โดยส่วยใหญ่แล้ว “P” ในชื่อของวัสดุ ย่อมาจาก “Poly” เช่น
- PET – Polyethylene Terephthalate
- PLA – Polylactic Acid
- PP – Polypropylene
- PE – Polyethylene
- PS – Polystyrene
- PA – Polyamide (หรือ Nylon)
วัสดุการพิมพ์เป็นลักษณะ ของโมเลกุลต่อกัน เหมือนโซ่ยาวๆ เมื่อวัสดุได้รับความชื้น จะเข้าไปทำลายห่วงโซ่โมเลกุลนั้นๆ ทำให้สูญเสียความต้านทานแรงดึง เปลี่ยนแปลงความใส เมื่อนำมาใช้งาน ทำให้เกิดฟองอากาศ ผิวชิ้นงานไม่สวย
เคล็ดลับ เก็บวัสดุเครื่องพิมพ์3มิติ (3D Printer Filament) อย่างไร หลังจากใช้งานแล้ว
วิธีที่ 1 เก็บในบรรจุภัณฑ์เดิม ::
บรรจุภัณฑ์เดิมมีซองดูดความชื้นมาให้ หลังจากใช้งานแล้วเก็บใส่บรรจุภัณฑ์เดิมและปิดบรรจุภัณฑ์ให้สนิท
วิธีที่ 2 เก็บในถุงสูญญากาศ ::
ใช้ถุงแบบสุญญากาศ ดูดอากาศภายในถุงออกและอย่าลืมใส่ถุงดูดความชื้น
วิธีที่ 3 ใส่กล่องแบบแอร์ล็อค เป็นกล่องที่มีซีลกันอากาศเข้าและออกพร้อมใส่ถุงดูดความชื้น
วิธีที่ 4 กล่องกันความชื้นเฉพาะทาง หรือ ตู้กันความชื้น (ที่ใช้กับกล้องถ่ายรูป) ส่วนใหญ่จะเห็นกับการนำมาใช้ในการเก็บกล้องถ่ายรูป เพื่อกันความชื้นที่จะเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ของกล้อง แต่ในปัจจุบันมีการใช้เพื่อนเก็บวัสดุเครื่องพิมพ์ 3 มิติมากขึ้นแต่ราคาค่อนข้างสูง ปัจจุบันมีเอาไว้สำหรับเก็บเส้นวัสดุเครื่องพิมพ์ 3 มิติ โดยเฉพาะทำให้ราคาถูกลง