Perkins Eastman ส่งเสริมการร่างภาพด้วยมือในฐานะเครื่องมือในการออกแบบอันล้ำค่าที่เทคโนโลยีไม่สามารถแทนที่ได้
กว่าทศวรรษ หลังจากสำเร็จการศึกษาของ Ty Kaul (Perkins Eastman Associate Principal) จาก Pratt พูดถึงเรื่องราวขณะเรียนว่า อาจารย์ที่เป็นแรงบันดาลใจของเขานั้น สอนการออกแบบด้วยการวาดมือ และมักจะนั่งดูและวิเคราะห์โปรเจคของเขาจากภาพวาดมือที่อธิบายไอเดียของเขาออกมานั่นเอง และในทางปฏิบัติ Kaul กล่าวเสริมว่า ภาพสเก็ตช์แรกของโปรเจกต์ แม้จะไม่สมบูรณ์มากนัก แต่ก็สามารถจุดประกายแรงบันดาลใจในการสร้างโปรเจคใหญ่ๆ ขึ้นมาได้ “เมื่อคุณเริ่มวาด คุณจะอยู่ในสถานที่พิเศษ ที่เรียกว่า “จินตนาการ”
ปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลได้กลายเป็นเครื่องมือออกแบบเริ่มต้นในหมู่สถาปนิก บางคนจึงตั้งคำถามถึงประโยชน์ของการร่างภาพด้วยมือ Yale School of Architecture ได้เจ้าภาพจัดสัมมนาในปี 2012 ซึ่งมีชื่อว่า "Is Drawing Dead?" (การร่างภาพด้วยมือตายไปแล้วหรือยัง?) ถึงแม้กระแสเทคโนโลยีจะมาแรง แต่ Kaul และทีมงานหลายคนในสตูดิโอที่นิวยอร์กและที่อื่นๆ ก็ยังคงยึดมั่นในการร่างภาพด้วยมือเป็นหลัก
Omar Calderón Santiago drew a concept sketch for an expanded community space at the School Without Walls at
Francis-Stevens for early-childhood through middle-school students in Washington, DC.
พลังของปากกา ที่มากกว่าเทคโนโลยี
Omar Calderón Santiago ครูใหญ่ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. มองว่า “การปฏิวัติอย่างเงียบๆ” กำลังดำเนินอยู่ ซึ่งกำลังฟื้นฟูกระแสของการร่างภาพด้วยมือ “ผู้คนชื่นชอบความสามารถในการเปลี่ยนแปลงแบบร่างอย่างรวดเร็วจากการร่างภาพด้วยมือ” Calderón Santiago และสมาชิกของทีมฝึกสอน K-12 Education ได้ไปพบปะลูกค้าโดยไม่มีอะไรนอกจากภาพร่างด้วยมือเพื่อแสดงผลงานของพวกเขา “ลุกค้าซาบซึ้งและขอบคุณมากที่มีคนสละเวลามาวาดและออกแบบด้วยมือ” รองอาจารย์ใหญ่ คริสตี้ ชเลซิงเกอร์ ซึ่งทำงานใน DC อธิบายว่าทำไมลูกค้าถึงประทับใจ: "เพราะการร่างภาพด้วยมือเป็นเครื่องมือที่คุณใช้ในระหว่างการประชุม และสะท้อนให้เห็นว่าคุณกำลังฟังและแปลคำพูดของพวกเขาให้กลายเป็นสิ่งที่พวกกำลังดูอยู่ ณ ตอนนี้"
สถาปนิกยังคงใช้การร่างภาพด้วยมือสำหรับการทำงานเพื่อแสดงไอเดียของรัวเอง ซีอีโอร่วมและกรรมการบริหาร Nick Leahy อธิบายถึงกระบวนการที่สำคัญนี้ใน Drawn to Design ของ Eric Jenkins ฉบับปรับปรุง: การวิเคราะห์สถาปัตยกรรมผ่านการวาดภาพด้วยมือเปล่า ซึ่งตีพิมพ์เมื่อไม่นานมานี้ไว้ว่า "การตอบสนองของร่างกายที่เกิดขึ้นกับเครื่องมือวาดภาพช่วยให้สถาปนิกสัมผัสได้ถึง ‘น้ำหนักของสิ่งต่างๆ' ซึ่งเป็นความรู้สึกที่ไม่สามารถพบเจอได้จากการใช้คีย์บอร์ด เมาส์ หรือแท็บเล็ต" และเขายังได้เสริมเพิ่มเติมว่า “เมื่อคุณวาดภาพ จะทำให้คุณมีใจจดจ่ออยู่กับมัน”
แนวคิดการร่างภาพด้วยมือนั้นถูกสะท้อนให้เห็นอย่างยิ่งใหญ่ ด้วยผลงานการออกแบบสนามเอฟเวอร์ตันแห่งใหม่ที่ตั้งตระหง่านบริเวณท่าเรือแบรมลีย์-มัวร์อันเก่าแก่ริมแม่น้ำเมอร์ซีย์ โดย Dan Meis หัวหน้าและผู้ก่อตั้ง MEIS (สตูดิโอ Perkins Eastman ในลอสแองเจลิสและนิวยอร์ก) ได้พบกับประธานสโมสรฟุตบอล Everton เป็นครั้งแรก เขาต้องการออกแบบสนามเพื่อปลุกประวัติศาสตร์อันหยาบกระด้างของ อดีตท่าเทียบเรือขนถ่ายถ่านหิน แต่ลูกค้าของเขากลับชอบรูปแบบที่ดูโฉบเฉี่ยวและทันสมัยมากกว่า ด้วยความพยายามที่จะเชื่อมแนวคิดทั้งสองเข้าด้วยกัน Meis ได้เริ่มต้นกับสมุดสเก็ตช์ภาพของเขา สำรวจรูปแบบใหม่ๆ ด้วยการร่างจากปลายปากกาของเขา ท้ายที่สุด เขาได้สร้างภาพร่างของสนามที่ดูเหมือนคลื่นที่ซัดเข้ามา ไมส์กล่าวว่า “ถ้าคุณออกแบบด้วยการวาดภาพให้ลูกค้าดู พวกเขาจะรู้สึกเหมือนกับว่าเป็นส่วนหนึ่งของเบื้องหลังการออกแบบ”
“ในทางตรงกันข้าม การเรนเดอร์ด้วยคอมพิวเตอร์ที่สวยงามอาจดูเหมือนงานที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยน เพิ่มเติมจินตนาการ และผู้คนไม่สามารถมีส่วนร่วมได้” Giaa Park รองอาจารย์ใหญ่ในนิวยอร์ก เปรียบเทียบการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ว่าเหมือนกับการแต่งหน้าเค้ก—สวยแค่ภายนอก แต่ไม่มีทางรู้ว่ามีอะไรอยู่ข้างใต้ “ภาพร่างเป็นเครื่องมือในการคิดที่ใช้งานง่ายเพื่อค้นหาแก่นแท้ของสิ่งที่อาคารควรเป็น”
Don MacDonald ผู้ก่อตั้ง Donald MacDonald Bridge Architects สตูดิโอของ Perkins Eastman Studio ในซานฟรานซิสโก พูดถึงประโยชน์ของการนำเสนอลูกค้าด้วยภาพร่างที่เกิดขึ้นในการการประชุมแบบสาธารณะอีกด้วย “ผมมักจะพบว่าการเริ่มต้นด้วยการร่างภาพในเวทีประชาพิจารณ์นั้นเป็นเรื่องที่ดี” เขากล่าว “เมื่อทำเสร็จแล้ว ทุกคนจะรู้สึกเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการนี้” วิธีการนี้ ทำให้เขาประสบความสำเร็จในการทำประชาพิจารณ์เกี่ยวกับการออกแบบ Tilikum Crossing ซึ่งเป็นสะพานสำหรับคนเดินถนน นักปั่นจักรยาน และระบบขนส่งมวลชนที่ข้ามแม่น้ำ Willamette ในพอร์ตแลนด์ รัฐโอเรกอน ซึ่งต่อมาได้รวมภาพเหล่านี้ไว้ในหนังสือที่เขาเขียนเกี่ยวกับทางข้าม ซึ่งรู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า “สะพานแห่งประชาชน”
Principal Dan Meis’s initial sketch provided the design foundation for what would become the Everton Stadium in Liverpool, England.
การร่างภาพด้วยมือ ช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้งได้
อาจารย์ใหญ่ Andrés Pastoriza จากนิวยอร์กกล่าวว่า “ฉันมักจะให้คุณค่ากับ [การร่างภาพ] เป็นเครื่องมือในการสื่อสารความคิดให้ชัดเจนยิ่งขึ้น” ซึ่ง Andrés ใช้การร่างภาพด้วยมือเพื่อแสดงรายละเอียดบนผนังในระหว่างการก่อสร้าง ส่วนใสสตูดิโอ เขามักขอให้เพื่อนร่วมงานร่างภาพด้วยมือลงบนพิมพ์เขียวเพื่อแสดงความเห็น "การร่างภาพที่ทำได้ในชีวิตจริงจะช่วยให้เราทำงานได้ดีขึ้น”
ยังมีประโยชน์ของการร่างภาพด้วยมืออีกสิ่งที่น่าสนใจที่แชร์มาจาก Cristobal Mayendia นั่นก็คือ การที่ลูกค้าของเขาให้ความสนใจกับความคืบหน้าของโปรเจคโรงพยาบาบในแอตแลนต้า Mayendia แนะนำให้ใช้เวลาหนึ่งวันในการร่างภาพเพื่อแก้ปัญหา จากภาพวาดเหล่านั้น ลูกค้าสามารถเห็นอาคารที่มีชีวิตชีวาขึ้นมา และมองเห็นรายละเอียดการออกแบบทั้งหมด Mayendia อธิบายไว้ว่า “คุณต้องวาดบ่อยครั้งเพื่อทำความเข้าใจพื้นที่ ร่างกายมนุษย์ ทิวทัศน์ของเมือง อาคาร และรายละเอียดต่างๆ”
และหากคุณเป็นนักสร้างสรรค์อารมณ์ขัน การร่างภาพด้วยมือนั้นก็มีประโยชน์มากขึ้น อย่างเช่น Ling Zhong ที่สเก็ตช์ภาพนิวยอร์กขึ้นจาก Google Street View และเพิ่มการ์ตูนลงในภาพทิวทัศน์ของเมืองเพื่อความสนุกสนาน “ผมสามารถเปลี่ยนสถานการณ์ที่รุนแรงมากให้กลายเป็นบริบทที่ผ่อนคลายได้ด้วยการ์ตูน” เขากล่าว
การร่างภาพด้วยมือ ผสมผสานทั้งโลกดิจิตอลและออฟไลน์เข้าด้วยกัน
iPad ในปัจจุบันกลายเป็นเครื่องมือสำหรับสเก็ตช์ภาพและวาดภาพประกอบ เพราะมีเครื่องมือทั้งปากกา Apple Pencil และแอปพลิเคชันจำนวนมาก ช่วยให้สถาปนิกสามารถผสมผสานศิลปะการร่างภาพเข้ากับคอมพิวเตอร์ได้ “มันทำให้งานของฉันก้าวไปอีกขั้น” นักออกแบบอาวุโสชาวนิวยอร์กและผู้ร่วมงานอาวุโส Amit Arya ผู้ซึ่งเรียกโปรแกรมต่างๆ เช่น Morpholio Trace ว่า “Photoshop for the hand” เมื่อใช้ iPad และ Apple Pencil เขาสามารถร่างโมเดลเพื่อปรับแต่งหรือต่อยอดจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว หรือสร้างสิ่งใหม่ แล้วแชร์กับทีมได้ทันที “หากคุณมีไอเดีย 10 อย่าง” สำหรับโปรเจกต์หนึ่งๆ อาจใช้เวลาถึงสามวันในการสร้างแบบจำลองทั้งหมดในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น Rhino แต่ด้วยซอฟต์แวร์สเก็ตช์ “คุณสามารถสร้างได้ทั้งหมดภายในหนึ่งวัน”
Calderón Santiago ซื้อ iPad เครื่องแรกของเขาในช่วงที่มีโรคระบาด และอุปกรณ์ดังกล่าวได้เปลี่ยนวิธีการทำงานของเขาอย่างถาวร ด้วยแอพต่างๆ เช่น Morpholio Trace, Procreate และ SketchUp เขากล่าวว่า "ผมยังสามารถเชื่อมต่อสมองกับมือได้" และเช่นเดียวกับการร่างภาพบนกระดาษ "ความเร็วในการทำงานของผมเปลี่ยนไป" แอปพลิเคชันที่เข้าถึงได้เป็นจำนวนมากเหล่านี้ช่วยให้กลุ่มสถาปนิก นักวาดภาพประกอบ และศิลปินสามารถเฉลิมฉลองและแชร์งานออกแบบของกันและกันได้ และแอปพลิเคชันเองก็ส่งเสริมผลงานที่ดีที่สุดบนแพลตฟอร์มของตน คุณ Calderón Santiago หวังว่าชุมชนที่เจริญรุ่งเรืองแห่งนี้จะช่วยสร้างสมดุลระหว่างโลกดิจิทัลและการร่างภาพด้วยมือให้เพิ่มมากขึ้น
การร่างภาพด้วยมือแม้จะดูแล้วเหมือนล้าสมัย แต่จริงๆ แล้ว การร่างภาพด้วยมือนั้นถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเริ่มออกแบบ หรือการใช้อธิบายความคิดของเราออกมาอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพที่สุด ดังนั้น อย่าหลงลืมการร่างภาพด้วยมือกันนะครับ
🌐ช่องทางติดต่อ
✳️ www.8Baht.com
📞 02-744-9397 หรือ 097-060-8328
🟩 Line: ค้นหา @8Baht