L o a d i n g

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร 02-744-9397 , 097-060-8328 line คุยกับเรา

  • สมัครสมาชิกใหม่
  • เข้าสู่ระบบ
  • บริการช่วยเหลือ
8baht.com 8baht.com
  • หมวดหมู่สินค้า
    Lets Start
โปรแกรมประเมินราคาแบบ Mayku โปรแกรมเขียนCAD Workstation การ์ดจอ
heart
0 cart user
SketchUp & Extension
Adobe
Autodesk
Rendering & Animation
Computer & Peripheral
3D Printer / Consumables / Thermoforming
BIM / Architecture / Construction
Media & Document
Tools and Utilities
Software
Service
Training
×
8baht.com 8baht.com
user 0 cart
×
8baht.com
SketchUp & Extension
× 8baht.com
SketchUp & Extension
SketchUp
Profile Builer/BIM Bundle
3skeng
Adobe
Autodesk
× 8baht.com
Autodesk
LT Family
AutoCAD, 3ds Max & Maya
Collection
Rendering & Animation
× 8baht.com
Rendering & Animation
Artlantis
Corona Renderer
D5
Enscape
Lumion
Maxon Cinema 4D
Twinmotion
V-Ray
Computer & Peripheral
× 8baht.com
Computer & Peripheral
Desktop Workstation
Mobile/Laptop Workstation
Graphic Card
3DCONNEXION
Mouse Pen
Monitor
Plotter Printer
Interactive Whiteboard
3D Printer / Consumables / Thermoforming
× 8baht.com
3D Printer / Consumables / Thermoforming
3D Printer
Filament – เส้นพลาสติก
Resin - เรซิ่น
Thermoforming
BIM / Architecture / Construction
× 8baht.com
BIM / Architecture / Construction
ArchiCAD
CADprofi
ExtrAXION
GstarCAD
IJCAD
Prota
Rhinoceros
Solibri
Spatial Manager
Media & Document
× 8baht.com
Media & Document
Foxit
Affinity
MAGIX VEGAS
PDF Editor
Sketch
ZBrush
Tools and Utilities
Software
Service
× 8baht.com
Service
XR Service
Training
× 8baht.com
Training
SolidWorks
Architecture
Training Course
บริการช่วยเหลือ
  1. หน้าหลัก
  2. ข่าวสารด้านซอฟต์แวร์และรีวิว

องค์กรของคุณ เสี่ยงต่อการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ หรือไม่?

  • 11-06-2023
  • Yui napassorn
  • 2,684
line line
องค์กรของคุณ เสี่ยงต่อการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ หรือไม่?

 การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ คืออะไร ​

การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ที่เห็นได้ชัดเจนในองค์กรต่างๆ คือ การใช้งานซอฟต์แวร์ ที่ได้มาไม่ถูกต้อง เช่น การซื้อคีย์ซอฟต์ที่ผิดประเภท การดาวนโหลดและใช้งานโปรแกรมที่ถูกดัดแปลง รวมถึงการซื้อซีดีปลอม ตามร้านออนไลน์ และตามตลาดทั่วไป และยังมีการละเมิดลิขสิทธิ์อีกหลายรูปแบบให้เห็นในปัจจุบัน  เช่น การซื้อแบ่งสิทธิ์ การใช้งานซอฟต์แวร์ จากทางสื่อออนไลน์ สาเหตุดังกล่าวเหล่านี้ ไปสร้างความสูญเสียรายได้ และภูมิปัญญา ของบริษัทที่ลงทุนในการสร้าง การวิจัยและพัฒนาซอฟต์แวร์เหล่านั้น โดยมีมูลค่าความเสียหาย ปีละหลายหมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

ซอฟต์แวร์ หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ คือสิ่งที่ได้รับความคุ้มครอง ภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ("พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์") โดยจัดเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ ประเภทงานวรรณกรรม (Literary work)

ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ กำหนดว่า โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หมายถึง คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดที่นำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน หรือให้ได้ผลอย่างหนึ่งอย่างใด ในกรณีที่บุคคลใด ทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน หรือให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนาของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ บุคคลนั้นจะมีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ มีโทษปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 200,000 บาท และหากเป็นการกระทำเพื่อการค้า จะต้องโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 4ปี หรือปรับตั้งแต่ 100,000 ถึง800,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

นอกจากนี้ หากผู้ใดรู้หรือมีเหตุอันควรรู้ว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น แต่ยังนำไปขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ เผยแพร่ต่อสาธารณชน แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ นำเข้าหรือสั่งเข้ามาในประเทศไทย เพื่อหากำไร ก็มีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ โดยมีโทษปรับตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 100,000 บาทและหากเป็นการทำเพื่อการค้าผู้นั้นจะต้องโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 2 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000 บาทถึง 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

นอกเหนือจากการแก้ไขบรรเทาความเสียหายในคดีอาญาแล้ว เจ้าของลิขสิทธิ์ยังสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีแพ่ง ในกรณีการละเมิดลิขสิทธิ์ในซอฟต์แวร์ภายใต้ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์หากศาลพบว่ามีการกระทำความผิดจริงอาจมีคำห้ามมิให้กระทำละเมิดอีกต่อไป และมีคำสั่งให้ชำระค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงอันเนื่องจากการละเมิดดังกล่าว

กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์

กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ หรือบีเอสเอ (BSA) เป็นผู้นำที่ทุ่มเท ให้กับการส่งเสริมโลกดิจิตอลที่ปลอดภัย และถูกกฎหมาย บีเอสเอ เป็นกระบอกเสียงให้กับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ และคู่ค้าฮาร์ดแวร์ทั่วโลก เพื่อสื่อสารกับรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ และในตลาดการค้า ระหว่างประเทศ สมาชิกของบีเอสเอ เป็นตัวแทนผู้ประกอบการ ในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดในโลก โครงการของบีเอสเอ สนับสนุนนวัตกรรมเทคโนโลยีผ่านโครงการเพื่อการศึกษา และนโยบายที่ส่งเสริมการปกป้องลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์, การรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์, การค้า และอีคอมเมิร์ส ทั้งนี้ บีเอสเอ มีสมาชิกดังนี้

ความร่วมมือโดยกองปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (ECD POLICE) (บก.ปอศ) ในประเทศไทย

บีเอสเอ ร่วมมือกับรัฐบาลไทย ในโครงการที่ให้ความรู้แก่สาธารณชน เกี่ยวกับความเสี่ยงของการใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่ได้รับอนุญาต ในประเทศไทยยังมีการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์อยู่อีกมามาย หลากหลายรูปแบบ ทาง ผอ.ฝ่ายปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ประจำภูมิภาคเอเชีย ระบุประเทศไทยอยู่ในอันดับ 4 ของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ด้าน ผบก.ปศท. ประกาศเอาตำแหน่งเป็นเดิมพัน หาก 3 เดือน กวาดล้างการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ไม่ได้ผล[11]

พล.ต.ต.วิสุทธิ์ วานิชบุตร อดีตผู้บังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี (ปศท.) แถลงข่าวร่วมกับกลุ่มพันธมิตรซอฟต์แวร์ โดยนายดรุณ ซอร์นีย์ ผู้อำนวยการฝ่ายปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ประจำภูมิภาคเอเชีย กล่าวว่า ประเทศไทยมีการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์สูงถึงร้อยละ 80 และเป็นอันดับ 4 ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยอันดับ 1 คือ เวียดนาม ตามด้วยอินโดนีเซีย และจีน นายอรุณ กล่าวด้วยว่า ในเครื่องคอมพิวเตอร์คนไทย 1 เครื่อง จะมีชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ถึงร้อยละ 80 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ขณะที่อีก 3 ประเทศ กลับพบแนวโน้มที่ลดลง[12]

การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยมีโอกาสสูงที่จะเผชิญกับภัยและความเสี่ยงบนโลกไซเบอร์ ที่ส่งผลกระทบอย่างชัดเจนต่อประเทศชาติ ประชาชน และองค์กรธุรกิจ ข้อมูลปี 2559 จากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA พบว่าประเทศไทยมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกโจมตีทางไซเบอร์เป็นอันดับสองรองจากอินโดนีเซีย ในปีที่ผ่านมามีการโจมตีมากถึง 4,300 เหตุการณ์ โดยร้อยละ 35 ถูกกระทำจากซอฟต์แวร์ประสงค์ร้าย หรือ Malicious Software ร้อยละ 26 เป็นเรื่องการหลอกให้โอนหรือชำระเงิน และร้อยละ 23 เป็นเรื่องการเจาะเข้าสู่เครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต

 การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ โดยทั่วไป มี 5 ลักษณะ ได้แก่

1.การละเมิดลิขสิทธิ์โดยผู้ใช้
เป็นรูปแบบการสร้างความเสียหายต่อ BSA มากที่สุด เรียกกันว่า "การละเมิดลิขสิทธิ์โดยผู้ใช้ในองค์กร" เกิดจากการที่องค์กรธุรกิจ ทำการสำเนาซอฟต์แวร์โดยไม่ได้รับอนุญาต

2.​การใช้งานจำนวนมากในเครือข่าย
เกิดจากก​​ารมีผู้ใช้งานจำนวนมากในเครือข่ายเข้าใช้ซอฟต์แวร์ที่ส่วนกลางพร้อมกัน

3.การละเมิดลิขสิทธิ์ทางอินเตอร์เน็ต
แม้จะมีผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์ผ่านอินเตอร์เน็ตอย่างถูกต้องก็ตาม แต่ก็มีการละเมิดลิขสิทะผ่านอินเตอร์เน็ต เป็นจำนวนมากได้เช่นกัน ได้แก่  

  • เว็บไซต์ที่เปิดให้ดาว์นโหลดหรือแลกเปลี่ยนซอฟต์แวร์ทางการค้าโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
  • เว็บไซต์ที่เสนอการประมูลซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย, ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ หรือซอฟต์แวร์ที่ไม่ตรงกับช่องทางจำหน่ายที่กำหนด 
  • เครือข่าย Peer-to-Peer ที่อนุญาตให้แลกเปลี่ยนซอฟต์แวร์มีลิขสิทธิ์ระหว่างกัน

การละเมิดลิขสิทธิ์ผ่านอินเตอร์เน็ต ยังถือเป็นเรื่องคุกคามการค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญที่สุด

4.การติดตั้ง ซอฟต์แวร์ในฮาร์ดดิสก์
เกิดจากการที่ผู้จำหน่ายคอมพิวเตอร์ทำการติดตั้งซอฟต์แวร์ให้กับลูกค้าอย่างผิดกฎหมาย เพื่อจูงใจให้เกิดการซื้อ

5. การสำเนาซอฟต์แวร์อย่างผิดกฎหมาย
คือการทำสำเนาอย่างผิดกฎหมาย หรือจำหน่ายสินค้าที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์โดยเจตนา สำหรับกรณีของซอฟต์แวร์ที่มีบรรจุภัณฑ์นั้นพบว่า ได้มีการจำหน่ายซีดีหรือดิสก์เก็ตที่ทำสำเนาอย่างผิดกฎหมายพร้อมด้วยคู่มือ, สัญญาการใช้งานและบัตรลงทะเบียนโดยมีบรรจุภัณฑ์และคุณสมบัติป้องกันการปลอมแปลงที่เหมือนกันกับผลิตภัณฑ์ของแท้ให้เห็นเช่นกัน

วิธีการหลีกเลี่ยงการทำผิดกฎหมายลิขสิทธิ์ 

วิธีง่าย ๆ คือ ซื้อ และใช้แต่ซอฟต์แวร์ ของแท้ เท่านั้น

ลักษณะการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่อนุญาตต่อผู้ใช้ จะถูกระบุไว้ในสัญญาการใช้งาน ดังนั้นควรอ่านสัญญาการใช้งานเสมอ เพื่อให้ทราบถึงข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้ ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์

อย่างไรก็ตาม เราจะไม่กระทำผิดกฎหมาย หากปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้

  • ไม่ติดตั้งและใช้ซอฟต์แวร์เดียวกัน บนคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง พร้อมๆ กัน
  • ทำสำเนาโปรแกรมและการลงทะเบียนเพียง 1ชุด เพื่อจุดประสงค์ในการสำรองซอฟต์แวร์เท่านั้น
  • ไม่ติดตั้งซอฟต์แวร์ ไว้ที่เซิร์ฟเวอร์
  • ไม่ให้ผู้อื่น ยืมซอฟต์แวร์ของคุณ ไปใช้งาน

ท้ายสุดนี้ ควรระมัดระวังในการเลือกซื้อ เลือกใช้ซอฟต์แวร์ ทุกครั้ง เพราะกลการหลอกลวงบนสื่อต่างๆ ก็ยังมีอยู่เสมอ เราควรตรวจสอบข้อมูลอย่างรอบคอบ ก่อนทำการซื้อ ทำการทบทวนเอกสารยืนยันที่ได้รับ เพื่อรับรองว่า เราได้ซื้อซอฟต์แวร์ที่ถูกกฏหมายจริง และจากที่ทราบมา อัตราการจับปรับในปัจจุบันมีมูลค่าสูงมาก ควรจะมีการประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับกฏหมาย ให้กับพนักงานในองค์กรทราบ อยู่เสมอ และเน้นย้ำถึงข้อเสียในการละเมิดใช้งานซอฟต์แวร์ และผู้เกี่ยวข้องควรรับข่าวสารจาก BSA อยู่เสมอ เพื่อลดความเสี่ยงในการถูกจับปรับ นั่นเอง

การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ เสี่ยงต่อการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
แบ่งปัน:
line line

เลือกหัวข้อที่คุณสนใจ

8 ฟีเจอร์เด่น AutoCAD ที่ผู้ใช้งานระดับ CAD Manager สุดปลื้ม

8 ฟีเจอร์เด่น AutoCAD ที่ผู้ใช้งานระดับ CAD Manager สุดปลื้ม

How to! When VRay Failed to Activate

How to! When VRay Failed to Activate

รู้ก่อน ปรับเปลี่ยนก่อน กับแผนการปรับเปลี่ยน Autodesk License ในปีงบประมาณ 2564

รู้ก่อน ปรับเปลี่ยนก่อน กับแผนการปรับเปลี่ยน Autodesk License ในปีงบประมาณ 2564

เริ่มต้นการใช้งานและเทคนิคพื้นฐาน Adobe Photoshop CC

เริ่มต้นการใช้งานและเทคนิคพื้นฐาน Adobe Photoshop CC

Skanska ใช้ BIM 360 และ Forge เพื่อเปลี่ยนบริษัทเป็นดิจิตัล ที่ช่วยลดเวลาการก่อสร้างลง 25%

Skanska ใช้ BIM 360 และ Forge เพื่อเปลี่ยนบริษัทเป็นดิจิตัล ที่ช่วยลดเวลาการก่อสร้างลง 25%

logo

DESIGN & ENGINEERING INNOVATION STORE ศูนย์รวม IT ด้านงานออกแบบ ร้านค้าออนไลน์ จำหน่ายสินค้าด้าน IT ทั้งซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์ ภายใต้การดูแลของ บริษัทแอพพลิแคด จำกัด (มหาชน) ตัวแทนจำหน่ายเทคโนโลยี เพื่องานออกแบบมากว่า 20 ปี

เกี่ยวกับเรา

  • เกี่ยวกับแปดบาท ออนไลน์
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นโยบายทางธุรกิจ
  • นโยบายการคืนสินค้า
  • นโยบายการคืนเงิน
  • นโยบายการรับประกันสินค้า

บริการลูกค้า

  • สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
  • วิธีการสมัครสมาชิก
  • วิธีการสั่งซื้อสินค้า
  • ข่าวสารด้านซอฟต์แวร์

ข้อมูลติดต่อ

บริษัท แอพพลิแคด จำกัด (มหาชน) เลขที่ 69 ซอยสุขุมวิท 68 ถนนสุขุมวิท แขวงบางนาเหนือ เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260

เวลาทำการ
สำนักงานใหญ่ : จันทร์-ศุกร์ 09:00 - 17:00 น.
ช่องทางออนไลน์ : 09:00-00:00 น.
เบอร์โทร : 02-744-9397, 097-060-8328
เกี่ยวกับเรา
  • เกี่ยวกับแปดบาท ออนไลน์
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นโยบายทางธุรกิจ
  • นโยบายการคืนสินค้า
  • นโยบายการคืนเงิน
  • นโยบายการรับประกันสินค้า
บริการลูกค้า
  • สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
  • วิธีการสมัครสมาชิก
  • วิธีการสั่งซื้อสินค้า
  • ข่าวสารด้านซอฟต์แวร์
ข้อมูลติดต่อ

บริษัท แอพพลิแคด จำกัด (มหาชน) เลขที่ 69 ซอยสุขุมวิท 68 ถนนสุขุมวิท แขวงบางนาเหนือ เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260

เวลาทำการ
สำนักงานใหญ่ : จันทร์-ศุกร์ 09:00 - 17:00 น.
ช่องทางออนไลน์ : 09:00-00:00 น.
เบอร์โทร : 02-744-9397, 097-060-8328
facebook massage youtube instagram line
visa mastercard bank

ธุรกิจที่ได้รับความไว้วางใจ
มีการจดทะเบียนนิติบุคคล
ssl
ใช้งานอย่างปลอดภัย
ได้รับการยืนยันจาก Google
© สงวนลิขสิทธิ์ 2021 บริษัท แอพพลิแคด จำกัด (มหาชน)